รูป ภาษามือเบื้องต้น 5 ท่า สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ภาษา มือ เป็นภาษาสำหรับคนหูหนวก ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน โดยอาศัยการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อประกอบการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษามือนั้นไม่ใช่ภาษาสากลที่สามารถใช้ได้ครอบคลุมทุกประเทศ เนื่องจากการใช้ภาษามือจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของภาษาในประเทศ หรือท้องถิ่นนั้น ๆ และเพื่อให้ทราบถึงลักษณะการใช้ภาษามือของไทย ที่ใช้สำหรับการสื่อสารถึงเรื่องทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น การทักทาย การชื่นชม หรือการแสดงความรู้สึก ดังนั้นเราจึงรวบรวมภาษามือง่าย ๆ จำนวน 20 ท่า มาฝากกันค่ะ
คำภาษาไทย : ขอบคุณ
คำภาษาอังกฤษ : Thank you
ความหมาย : กล่าวแสดงความรู้สึกถึงบุญคุณหรือกล่าวเมื่อได้รับความช่วยเหลือ
การใช้ภาษามือ : แบมือทั้ง 2 ข้าง โดยให้ทุกนิ้วชิดกัน จากนั้นยกมือขึ้นมาขนานกันในแนวตั้ง แล้วจึงดึงมือทั้งสองข้างออกจากกัน
คำภาษาไทย : ขอโทษ
คำภาษาอังกฤษ : Sorry
ความหมาย : ขออภัยเมื่อได้ทำผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
การใช้ภาษามือ : ยก ฝ่ามือซ้ายขึ้นมาระดับหัวใจ โดยหันปลายนิ้วไปยังคู่สนทนา จากนั้นใช้ปลายนิ้วมือข้างขวาทำวน ในทิศตามเข็มนาฬิกา เหนือฝ่ามือข้างซ้ายราว ๆ 3 รอบ
คำภาษาไทย : ไม่เป็นไร
คำภาษาอังกฤษ : That's all right, That's ok, No problem, Not at all, You're welcome
ความหมาย : คำแสดงความรู้สึกที่ไม่ได้ถือโทษหรือโกรธเคืองใด ๆ เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ต้องรู้สึกผิด
การใช้ภาษามือ : กางฝ่ามือทั้งสองข้างหันเข้าหาลำตัว ส่ายหน้าพร้อมสะบัดปลายนิ้วทั้งสองให้สวนกันไปมาประมาณ 3 รอบ
คำภาษาไทย : สบายดี
คำภาษาอังกฤษ : Fine, Doing well
ความหมาย : สภาวะปกติของทั้งร่างกายและจิตใจ ร่างกายไม่เจ็บป่วย รวมทั้งอารมณ์ดี มีความสุข ไม่มีอะไรให้กังวล
การใช้ภาษามือ : แบ ฝ่ามือทั้งสองข้าง จากนั้นให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างทำมุมเป็นรูปตัววีโดยหันฝ่ามือเข้าหาลำตัว บริเวณหน้าอก แล้วลากมือในแนวเฉียงขึ้นเป็นรูปตัววีจนถึงระดับใหล่ จากนั้นกำนิ้วมือทั้ง 4 โดยชูนิ้วโป้งหันเข้าหากัน
คำภาษาไทย : โชคดี
คำภาษาอังกฤษ : Good luck
ความหมาย : การได้รับสิ่งดี ๆ โดยที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้
การใช้ภาษามือ : ใช้ ปลายนิ้วชี้และนิ้วโป้งสัมผัสกันเป็นรูปวงกลม โดยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยกลางออกจากกัน ในลักษณะเหยียดตรง จากนั้นขยับมือไปข้างหน้าและขยับถอยหลัง ทำอย่างนี้ซ้ำกันปะมาณ 2 รอบ
ที่มา:https://blog.eduzones.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น