วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ

ความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ



1.ความเจริญก้าวหน้าทาวิทยาศาสตร์มาจากยุโรปและอเมริกาเป็นส่วนใหญ่หากต้องการเข้าใจสิ่งเหล่านี้ต้องมีความรู้เป็นภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีเพราะตำรับตำราส่วนมากเขียนเป็นภาษาอังกฤษ
2.ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องหมายของคนมีการศึกษาดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3.การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศกว้างขวางขึ้นมีข้อจำกัดและกฏเกณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องอาศัยภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ทำสัญญาต่างๆ
4.ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาตัวเองไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ในหลายๆด้านรวมทั้งผู้ชำนาญด้านภาษาด้วย
5.ในการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมือง การทหาร การทูตระหว่างประเทศต้องมีความรอบคอบระมัดระวังในการเลือกใช้คำพูดเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดต่างๆอันเกิดจากการใช้คำไม่เหมาะสม
6.นักจิตวิทยาทางภาษาศาสตร์ได้ค้นคว้าและสรุปออกมาว่าคนที่รู้มากกว่าหนึ่งภาษามีโอกาสได้พัฒนามันสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษาได้มากกว่าคนที่พูดอยู่ภาษาเดียวและคนที่พูดได้ภาษามีโอกาสหารายได้ได้เร็วกว่าและมากกว่าคนที่พูดได้ภาษาเดียวคือภาษาแม่

ที่มา:http://www.dilbilimarastirmalari.com/

ความสำคัญของภาษาไทย

ความสำคัญของภาษาไทย
          ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข   และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคง  ทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี  ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า      ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

ธรรมชาติ / ลักษณะเฉพาะ ของภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเครื่องมือใช้สื่อสาร   เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและตรงตามจุดหมายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิด ความต้องการและความ รู้สึก คำในภาษาไทยย่อมประกอบด้วยเสียง  รูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และความหมาย ส่วนประโยคเป็นการเรียงคำตามหลักเกณฑ์ของภาษา และประโยคหลายประโยคเรียงกันเป็นข้อความ นอกจากนั้นคำในภาษาไทยยังมีเสียงหนัก เบา มีระดับของภาษา ซึ่งใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคคล ภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามสภาพวัฒนธรรมของกลุ่มคน ตามสภาพของสังคมและเศรษฐกิจ การใช้ภาษาเป็นทักษะที่ผู้ใช้ต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดูสื่อต่างๆ รวมทั้งต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา    เพื่อสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ และ ใช้อย่างคล่องแคล่ว มีวิจารณญาณและมีคุณธรรม

วิสัยทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

          ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของคนในชาติเพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจกันและใช้ภาษาในการประกอบกิจการงานทั้งส่วนตัว ครอบครัว กิจกรรมทางสังคมและประเทศชาติ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ การบันทึกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบัน และเป็นวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้นการเรียนภาษาไทย จึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิด  ทักษะอย่างถูกต้อง    เหมาะสมในการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนแสวงหาความรู้  และประสบการณ์ เรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชม ซาบซึ้ง และภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณค่าของวรรณคดี   และภูมิปัญญาทางภาษา ของบรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้ อันเป็นส่วนเสริมสร้างความงดงามในชีวิต
          การเรียนรู้ภาษาไทยย่อมเกี่ยวพันกับความคิดของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นสื่อของความคิดการเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ คิดวิพากษ์วิจารณ์ คิดตัดสินใจแก้ปัญหา และวินิจฉัยอย่างมีเหตุผล  ขณะเดียวกันการใช้ภาษาอย่างมีเหตุผลใช้ในทางสร้างสรรค์และใช้ภาษาอย่างสละสลวยงดงาม ย่อมสร้างเสริมบุคลิกภาพของผู้ใช้ภาษาให้น่าเชื่อถือ   และ เชื่อภูมิด้วย
          ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ   ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร   การอ่าน การฟังเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสารให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์สามารถเลือกใช้คำ เรียบเรียงความคิด  ความรู้  และใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ได้ตรงตามความหมาย และถูกต้องตามกาลเทศะ  บุคคล และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ภาษาไทยมีส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระ ได้แก่ กฎเกณฑ์ทางภาษา ซึ่งผู้ใช้ภาษาจะต้องรู้และใช้ภาษาให้ถูกต้อง นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจนบทร้องเล่นของเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ปริศนาคำทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม  ซึ่งมีคุณค่าต่อการเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนวรรณคดีวรรณกรรม  ภูมิปัญญาทางภาษา  ที่ถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ค่านิยม   ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต     และความงดงามของภาษา    ในบทประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว  ร้อยกรองประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง   ความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา:https://www.classstart.org/classes/4131

ระดับของภาษาไทย

ภาษาไทยแบ่งเป็น  ๕  ระดับ




แบ่งออกเป็น ระดับ คือ
ภาษาระดับพิธีการ      ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ ผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลสำคัญ
มีตำแหน่งสูง ผู้รับสารอาจเป็นบุคคลในวงการเดียวกัน หรือเป็นประชาชนทั้งประ
เทศหรือกลุ่มชนส่วนใหญ่ สารจะมีลักษณะเป็นทางการ ภาษาที่ใช้จะไพเราะสละ
สลวย มีการเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้า

ภาษาระดับทางการ
       ใช้สื่อสารกันในการอภิปราย บรรยายอย่างเป็นทางการ ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
มักอยู่ในวงการเดียวกัน สารจะมีลักษณะเจาะจง น่าสนใจ ภาษาที่ใช้ตรงไปตรงมา
ใช้ภาษากะทัดรัด ความหมายชัดเจน ประหยัดถ้อยคำและเวลา
ภาษาระดับกิ่งทางการ       มักใช้ในการประชุมกลุ่ม หรืออภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียน เป้นการ
สื่อไปสู่กลุ่มบุคคล อาจมีการโต้ตอบบ้าง เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้
ทั่วไปธุรกิจการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ มีศัพท์วิชาการบ้าง ภาษาที่ใช้จะทำให้
รู้สึกคุ้นเคยกว่าภาษาระดับทางการ

ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
       มักใช้ในการสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคล ๔-๕ คน ในสถานที่ไม่ใช่ส่วนตัว ผู้รับ
สารและผู้ส่งสารจะรู้จักคุ้นเคยกัน เนื้อหาของสารในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ภาษาที่ใช้อาจมีถ้อยคำที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม

ภาษาระดับกันเอง

       ใช้กันในวงจำกัด ใช้กับบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน เช่น บิดา มารดา เพื่อน
สนิทในสถานที่ที่มักเป็นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ภาษาที่ใช้อาจมีคำคะนองหรือภาษาถิ่น
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/Duplex/2008/11/17/entry-2


การใช้ภาษาอังกฤษ

การใช้ภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง
(English Expression)



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้ภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง



… แอนน์ ซัลวาทอร์
1. to act high and mighty หมายความว่า ทำท่าหยิ่งผยอง (to act proud and mighty)
            A. Why does the doctor always have an act so high and mighty?
                ทำไมพวกหมอจึงมีทีท่าหยิ่งผยองเสมอ ?
            B. If Chisa didn’t act so high and mighty, she ‘d have more friends.
                ถ้าชิสาไม่ทำท่าหยิ่งผยองอย่างนั้น เธอคงจะมีเพื่อนมากกว่านี้
2. to allow for someone or something มีความหมาย 2 อย่าง คือ
        1) วางแผนที่จะให้มีของบางอย่างให้เพียงพอกับบางคน (to plan on having such as food, space etc. for someone)
            A. Manee is bringing Wicha on the picnic so be sure to allow for him when buying the food.
                มานีจะพาวิชาไปปิคนิค ดังนั้นเธอต้องแน่ใจว่าจะมีอาหารเพียงพอสำหรับเขาด้วย
            B. Allow for extra person when setting the table tonight.
                จะจัดโต๊ะเลี้ยงแขกคืนนี้ให้จัดโต๊ะเผื่อเอาไว้ด้วย
        2) วางแผนเผื่อบางอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ (to plan for possibility of something)
            A. Allow for a few rainy days on your vacation.
                ให้เผื่อวันหยุดพักผ่อนนั้นไว้สักสองหรือสามวัน เพื่อว่าจะมีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้
            B. Besure to allow for future growth when you plant the rosebushes.
                ถ้าจะปลูกดอกกุหลาบ อย่าลืมที่จะเผื่อที่เอาไว้สำหรับเมื่อมันโตขึ้น
3. to answer to someone หมายความว่า อธิบายให้คนหนึ่งคนใดฟัง;พิสูจน์การกระทำของคนหนึ่งต่ออีกคนคนหนึ่ง (to explain to someone; to justify one’s actions to someone. (usually with have to)]
            A. If Sanaeh cannot behave properly, he’ll have to answer to me.
                ถ้าเสน่ห์ไม่สามารถที่จะทำตัวให้เรียบร้อยได้เขาจะต้องมาอธิบายให้ฉันฟังว่าทำไม
            B. The car thief will have to answer to the judge.
                คนที่ขโมยรถจะต้องไปปรากฏตัวต่อหน้าผู้พิพากษา
4. to arrange something with someone มีความหมาย 2 อย่าง คือ
        1) ถ้าจัดงานหนึ่งงานใดแล้วเอาคนหนึ่งคนหรือมากกว่าหนึ่งมาร่วมด้วย (to arrange to do something with someone to plan an event so as to include another person or persons)
            A. Nipa arranged a meeting with Manee.
                นิภา วางแผนนัดพบกับมาณี
            B. Wicha arrange to go to station with Suwat and Manee.
                วิชาวางแผนที่จะไปสถานีรถไฟกับสุวัฒน์และมาณี
        2) เพื่อที่จะให้คนหนึ่งคนใดเห็นด้วยในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด (to get someone consent for something)
            A. Manee arranged the entire affair with her employer.
                มาณีได้จัดการทุกอย่างให้กับพนักงานทั้งหมดเพื่อเขาจะเห็นด้วยกับเธอ
            B. The bride-groom arranged the wedding with the pasture.
                เจ้าบ่าวได้วางแผนการแต่งงานทั้งหมดกับศาสนาจารย์ของโบสถ์
5. to assume liability หมายความว่า ยอมรับผิดชอบในเรื่องการเงิน (to accept the responsibility for paying the cost)
            A. Mr. Somboon assumed liability for his son’s student loans
                คุณสมบูรณ์ยอมรับผิดชอบในเรื่องการกู้เงินเพื่อการศึกษาของลูกชายของเขา
            B. The store assumed liability for the injured customer’s hospital bill.
                ทางร้านยอมรับผิดชอบในการที่ลูกค้าได้รับบาดเจ็บ โดยจ่ายค่ารักษาให้
6. to attract (someone’s) attention หมายความว่า ทำให้คนอื่นสนใจ,ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อเรียกร้องความสนใจ (to cause someone to take notice; to get someone’s attention)
            A. I called and waved to attract Chisa’s attention.
                ฉันเรียกและโบกมือเพื่อให้ชิสาสังเกตเห็นเรา
            B. A small yellow flower attracted my attention.
                ฉันสนใจในดอกไม้สีเหลืองเล็กๆ นั้น
7. to avail (oneself) of something ช่วยคนหนึ่งคนใดโดยการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว (to help oneself by making use of something that is available)
            A. We availed ourselves of Manu’s good will and let him repair the fence.
                เราช่วยมนูในด้านสังคมสงเคราะห์แทน เพื่อเขาจะได้มีโอกาสไปซ่อมรั้วของเขา
            B. The campers availed themselves of the first chance in a week to take a shower.
                พวกที่ไปเข้าแคมป์อยู่ได้หนึ่งอาทิตย์แล้ว พึ่งจะได้มีโอกาสอาบน้ำเป็นครั้งแรก
8. to beat the gun หมายความว่า สามารถที่จะทำอะไรได้ก่อนที่จะได้ยินสัญญาณ (เดิมมาจากกีฬา ที่อ้างถึงการทำประตู หรือ ทำคะแนนได้ในวินาที่สุดท้ายของการแข่งขัน (to manage to do something before the ending signal. (originally from sports, referring to making a goal in the last seconds of a game)
            A. The ball beat the gun and dropped through the hoop just in time.
                ลูกบอลตกลงไปในห่วงได้ทันก่อนที่จะหมดเวลา
            B. Sanaeh tried to beat the gun, but he was one second too slow.
                เสน่ห์พยายามที่จะให้ทันเวลา แต่เขาช้าไปเพียง 1 วินาทีเท่านั้น
9. to bear with someone or something หมายความว่า มีความอดทนกับคนหนึ่งคนใด หรือบางสิ่งบางอย่างมีความอดทนต่อคนบางคนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด (to be patient with someone or something)
            A. Please bear with me while I fill out this form.
                อดทนหน่อยนะขณะที่ฉันกำลังกรอกแบบฟอร์มนี้อยู่
            B. Please bear with my old car. It will get us there sooner or later.
                อดทนกับรถเก่าคันนี้ของผมหน่อยนะ ยังไงมันก็จะพาเราไปถึงที่นั่นไม่ช้าก็เร็ว
10. to be caught short หมายความว่า ไม่มีสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือเงิน (to be without something you need, especially money)
            A. I needed eggs for my cake, but I was caught short.
                ฉันต้องการไข่เพื่อทำเค็ก แต่ฉันไม่มี
            B. Wicha had to borrow money from Suwat to pay for the meal. Wicha is caught short quite often.
                วิชา ต้องยืมเงินสุวัฒน์เพื่อซื้ออาหาร สำหรับวิชานั้นรู้สึกว่าเขาขาดเงินบ่อยเหลือเกิน
11. to clear up มีความหมาย อยู่ 2 อย่าง
        1) (สำหรับปัญหา) หมายความว่า ได้รับการแก้ไข (for a problem to become solved)
            A. This matter won’t clear up by itself.
                ปัญหาเรื่องนี้จะแก้ไขด้วยตัวของมันเองไม่ได้
            B. The confusion cleared up very quickly when I explained.
                เมื่อฉันได้อธิบายให้ฟังแล้ว ความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นก็สงบลงอย่างรวดเร็ว
        2) สำหรับโรคบางอย่าง หมายความว่า มันจะหายเอง หรือ เมื่อมันหมดพิษแล้วก็จะหายเอง [(for a disease) to cure itself or run it course]
            A. I told you your pimples would clear up without special medicine.
                ฉันบอกเธอแล้วว่าเรื่องสิวนั้นมันจะหายเองไม่ต้องใช้ยาพิเศษอะไร
            B. My rash cleared up in a week.
                ผื่นคันที่ฉันเป็นนั้นได้หายแล้วซึ่งเป็นเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น
12. to clear (something) up มีความหมายอยู่ 2 อย่าง คือ
        1) หมายถึงอธิบายแล้วก็ตกลงกันได้; แก้ไขปัญหาอันซับซ้อนได้ (to explain something; to solve a mystery)
            A. I think that we can clear this matter up without calling in the police.
                ฉัน คิดว่าเราจะตกลงเรื่องนี้กันได้ โดยไม่ต้องเรียกตำรวจ
            B. First we have to clear up the problem of the missing jewels.
                ก่อนอื่นเราจะต้องมาตกลงกันถึงปัญหาของเพชรพลอยที่หายไปเสียก่อน
        2) หมายถึงการรักษาโรคหรือวิธีของการรักษา (โดยเฉพาะหน้าที่มีสิว)
            [to cure a disease or a medical condition (especially facial pimples)]
            A. There is no medicine that will clear pimples up.
                ไม่มียาใดๆ ที่จะรักษาสิวให้หมดไปได้
            B. The doctor will give you something to clear up your cold.
                หมอจะให้ยาบางอย่างแก่คุณ เพื่อที่คุณจะได้หายจากการเป็นหวัด
13. to close up shop หมายความว่า เลิกการทำงานหนึ่งวัน หรือตลอดไป (ไม่เป็นทางการ) [to quit working for a day or forever (informal)]
            A. It’s five o’clock, time to close up shop.
                เวลา 5 โมงแล้วและถึงเวลาที่จะปิดร้านแล้วล่ะ
            B. I can’t make money in this town. The time has come to close up shop and move to another town.
                ฉันไม่สามารถขายของได้ในเมืองนี้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะปิดร้านเสีย แล้วไปเปิดใหม่ในเมืองอื่น
14. to come about มีความหมาย 2 อย่าง คือ
        1) มีความหมายว่า เกิดขึ้น (to happen)
            A. How did this come about?
                เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
            B. This came about due to the severe weather.
                เรื่องนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
        2) ถ้าใช้กับเรือ หมายความว่า เลี้ยว (to turn)
            A. Look how easy this boat comes about.
                ดูซิ เรือนี้เลี้ยวง่าย จริงๆ
            B. Now, practice making the boat come about.
                ไหนลองดูซิ หัดให้เรือเลี้ยวดูหน่อย
15. to come in handy หมายความว่า ใช้เป็นประโยชน์ หรือใช้ได้อย่างสะดวกสบาย (ไม่เป็นทางการ) [to be useful or convenient (informal)]
            A. A small television set in the bedroom would come in handy.
                โทรทัศน์เครื่องเล็กที่อยู่ในห้องนอนนั้นทำให้ใช้ได้สะดวกขึ้น
            B. A nice cool drink would come in handy about now.
                เครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้วหนึ่ง อาจจะช่วยให้ชื่นใจขึ้นได้ (มีประโยชน์)
16. to come into (one’s) own and come into (its) own มีความหมาย 2 อย่าง คือ
        1) ถ้าใช้กับคน หมายถึง ได้ทำให้คนรู้เห็นถึงความสำเร็จของตนเอง [(for one) to achieve one’s proper recognition]
            A. Sunee finally came into her own.
                ในที่สุด สุนีก็เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
            B. After years of trying, she finally came into her own.
                หลังที่ได้พยายามมาหลายปี ในที่สุดเธอก็ได้ทำให้ตัวของเธอเองเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
        2) ถ้าใช้กับสิ่งของ หมายถึง ทำให้คนรู้คุณประโยชน์ของมัน [(for something) to achieve its proper recognition]
            A. The idea of an electric car finally came into its own.
                ความคิดเกี่ยวกับรถไฟฟ้าในที่สุดก็ทำได้สำเร็จ และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย
            B. Film as an art medium finally came into its own.
                ภาพยนตร์เป็นเพียงศิลปะที่ใช้สื่อสาร ในที่สุดได้พัฒนาให้เป็นที่รู้จักทั่วไปในนามของภาพยนตร์ที่ได้ให้ความบันเทิงแก่ชาวโลก
17. to come on หมายความว่า เร็ว, ตามมา (คนใดคนหนึ่ง) [to hurry up, to follow (someone)
            A. Come on! I’m in a hurry.
                มาเร็วซิ ฉันกำลังรีบๆ อยู่
            B. If you don’t come on, we’ll miss the train.
                ถ้าเธอไม่มาเร็วๆ เราจะตกรถไฟนะ
18. to come to a dead end หมายความว่า มาถึงจุดที่หยุดนิ่ง (to come to an absolute stopping point)
            A. The building project came to a dead end.
                โครงการสร้างตึกได้หยุดชะงักลงอย่างแน่นอน
            B. We were driving along and came to a dead end.
                เราขับรถมาเรื่อยๆ จนถึงทางตัน
19. to come to a stand still หมายความว่า หยุดชั่วคราวหรือตลอดไป (to stop, temporarily or permanently)
            A. The building project came to a standstill because the workers went on strike.
                โครงการสร้างตึกหลังนี้ได้หยุดชะงักชั่วคราว เพราะว่าคนงานสไตร์ค
            B. The party came to a standstill until the lights were turned on again.
                งานเลี้ยงหยุดชะงักชั่วคราว จนกระทั่งไฟจะเปิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
20. to count on someone or something หมายความว่า เชื่อถือ,ไว้ใจต่อคนหนึ่งคนใด (to rely on someone or something)
            A. Can I count on you to be there at noon?
                ฉันจะเชื่อได้ไหมว่าคุณจะไปที่นั่นเวลาเที่ยง
            B. I want to buy a car I can count on in winter weather.
                ฉันต้องการซื้อรถสักคันหนึ่ง ที่ฉันไว้ใจได้ในช่วงฤดูหนาว
21. to dig in มีความหมาย 2 อย่างคือ
        1) รับประทานอาหาร; เริ่มรับประทานอาหารได้แล้ว (ไม่เป็นทางการ) หรือจะใช้ว่า มารับประทานข้าวกันเถอะ [to eat a meal; to begin eating a meal (informal) also, come and get it]
            A. Dinner’s ready, Sanaeh. Sit down a dig in.
                อาหารเสร็จแล้วจ้า, เสน่ห์. นั่งลงและรับประทานได้แล้ว
            B. The cowboy helped himself to some beans and dug in.
                คนเลี้ยงวัวช่วยตัวเองในการตักอาหาร แล้วเริ่มรับประทาน
        2) หมายความว่า ทำหน้าที่ของตนเอง; จับ (สิ่งหนึ่งสิ่งใด) ให้แน่น (to apply oneself to task; to tackle (something) vigorously.
            A. Suda looked at the big job ahead of her. Then she rolled up her sleeves and dig in.
                สุดามองงานที่อยู่ตรงหน้าเธอ แล้วเธอจึงเริ่มลุยงานของเธออย่างจริงจัง
            B. “Wiroon,” hollered his mother, “you get to that pile of homework and dig in this very minute.
                แม่ของวิรุฬตะโกนบอกวิรุฬว่า “วิรุฬ, ไปที่กองการบ้านของเธอที่สุมอยู่นั้นแล้วเริ่มลงมือสะสางมันเดี๋ยวนี้ทันทีนะ
22. to do away with มีความหมาย 2 อย่างคือ
        1) ถ้าใช้กับคนหนึ่งคนใด หมายความว่า ฆ่าคนนั้น; ทำลายบุคคลนั้น หรือ สิ่งนั้น (to kill someone, to dispose of someone or something)
            A. The crooks did away with the witness.
                คนร้ายได้ฆ่าพยานเสียแล้ว
            B. I was there, too. I hope they don’t try to do away with me.
                ผมอยู่ที่นั่นด้วย และผมหวังว่าเขาคงไม่พยายามฆ่าผมอีกคนนะ
        2) ถ้าใช้กับสิ่งของหมายความว่า ทำสิ่งนั้นให้สูญหาย หรือทำลายสิ่งหนึ่งสิ่งใด [(with something)—to get rid of something; to dispose of something]
            A. This chemical will do away with stain in your sink.
                น้ำยานี้จะทำรอยด่างในอ่างของคุณให้หายไป
            B. The time has come to do away with that old building.
                ถึงเวลาแล้วที่ควรจะทุบตึกเก่าๆ นั้นทิ้งเสีย
23. to draw a blank มี ความหมาย 2 อย่างคือ
        1) ไม่ได้การตอบรับ; ไม่พบอะไรเลย (to get no response; to find nothing)
            A. I asked him about Manu’s financial problems, and I just draw a blank.
                ผมถามเขาเรื่องการเงินของมนู ผมไม่ได้รับคำตอบอะไรเลย
            B. We looked in the files for an hour, but we draw a blank.
                เรามองหาในแฟ้มเอกสารตั้งชั่วโมง แต่ก็ไม่พบอะไรเลย
        2) จำ (สิ่งหนึ่งสิ่งใด) ไม่ได้ [to fail to remember (something)]
            A. I tried to remember her telephone number, but I could only draw a blank.
                ฉันพยายามที่จะนึกถึงหมายเลขโทรศัพท์ของเธอเท่าไร แต่ก็นึกไม่ออก
            B. It was very hard test with just one question to answer, and I drew a blank.
                มันเป็นการทดสอบที่ยากมาก มีเพียงคำถามเดียวเท่านั้นที่จะต้องตอบ แต่แล้วฉันก็คิดไม่ออกเลย
24. to eat away at (someone or something) มีความหมาย 2 อย่าง คือ
        1) ทำลายชิ้นส่วนทีละน้อย (to remove parts, bit by bit).
            A. Suwat’s disease was eating away at him.
                โรคที่สุวัฒน์เป็นค่อยๆ ทำลายเขาลงทีละเล็กทีละน้อย
            B. The acid in the rain slowly ate away at the stone wall.
                น้ำกรดที่อยู่ในฝน ค่อยๆ กัดกร่อนกำแพงหินลงไปที่ละน้อย
        2) ใช้กับบุคคล หมายความว่า รบกวน หรือทำให้วิตกกังวล [(with someone) to bother or worry someone)]
            A. Her failure to pass her exam was eating away at her.
                การที่เธอสอบตก ทำให้เธอวิตกกังวลมาก
            B. Fear of appearing in court was eating away at Wiroon.
                ความกลัวที่จะต้องไปปรากฏตัวในศาลสร้างความวิตกกังวลให้กับวิรุฬมากเหลือเกิน
25. to fall (all) over oneself หมายความว่า มีการแสดงออกอย่างเคอะเขิน และตื่นเต้น เมื่อกำลังทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด (to behave awkwardly and eagerly when doing something)
            A. Sanaeh fell all over himself trying to make Manee feel at home.
                เสน่ห์มีทีท่าเคอะเขิน (ทำอะไรไม่ถูก) ที่จะทำให้มาณีมีความรู้สึกคุ้นเคยกับเขา
            B. I fall all over myself when I’m doing something that makes me nervous.
                ฉันรู้สึกเคอะเขิน เมื่อฉันรู้ว่าฉันกำลังจะทำอะไรที่ตื่นเต้น
26. to fall all over someone หมายความว่า ให้ความสนใจอย่างมาก ให้ความเสน่หา หรือ ยกย่องคนหนึ่งคนใด [to give a lot of attention, affection, or praise to someone (Informal)]
            A. My aunt falls all over me whenever she comes to visit.
                คุณป้าของฉันแสดงความรักและความสนใจต่อฉันมาก ทุกครั้งที่เธอมาเยี่ยมฉัน
            B. I hate for someone to fall all over me. It embarrasses me.
                ฉันเกลียดคนที่แสดงความสนใจ และแสดงความชื่นชมมากเกินไปต่อฉัน ทำให้ฉันละอายใจ
27. to fall flat on (one’s face) and to fall flat on (its face) ทำการสิ่งใดไม่เคยสำเร็จ ล้มเหลว [to be completely unsuccessful (informal)]
            A. I fell flat on my face when I tried to give my speech.
                ฉันล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เมื่อฉันพยายามที่จะให้โอวาท
            B. My joke falls flat most of the time.
                เรื่องตลกที่ฉันคิดว่าดีและตลกแต่คนฟังเขาว่ามันจืดชืดสนิททุกครั้งเลย
28. to fall on deaf ears (สำหรับการพูด หรือความคิดเห็น) หมายความว่า ไม่เป็นที่สนใจของคนที่เราตั้งใจมาพูดให้เขาฟัง [(for talk or ideas) to be ignored by the persons they were intended for]
            A. Her pleas for mercy fell on deaf ears.
                คำร้องขอความเมตตาของเธอไม่มีใครสนใจฟัง
            B. All of Suda’s advice fell on deaf ears. Suwat had made up his own Mind.
                คำแนะนำทั้งหมดของสุดา สุวัฒน์ไม่ได้สนใจเลย เพราะเขาตั้งใจไว้แล้วว่าเขาจะทำอย่างที่เขาปรารถนา
29. to fall short of มีความหมาย 2 อย่าง คือ
        1) ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด; ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากพอที่จะทำอะไรได้ (to lack something; to lack enough of something)
            A. We fell short of money at the end of the month.
                เงินเราขาดมือในตอนปลายเดือนเสมอ
            B. When baking a cake, the cook fell short of eggs and had to go to the store for more.
                เมื่อจะอบขนมเค็ก คนครัวมีไข่ไม่พอ เขาจึงต้องไปตลาดเพื่อซื้อไข่มาเพิ่ม
        2) มีความหมายว่า ไม่สามารถที่จะทำให้ไปถึงจุดมุ่งหมายได้ (to fail to achieve a goal)
            A. We fell short of our goal of collecting ten thousand bath.
                เราไม่สามารถรวบรวมเงินได้ตามเป้าที่วางไว้คือหนึ่งหมื่นบาท
            B. Chisa ran a fast race, but fell short of the record.
                ชิสาวิ่งได้เร็วมาก แต่ทำเวลาได้ต่ำกว่าสถิติที่มีอยู่
30. to fan the flames of (something) หมายความว่า ทำให้มีความตึงเครียดยิ่งขึ้น; ทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลง (to make something more intense; to make a situation worse)
            A. The riot fanned the flames of racial hatred even more.
                การจลาจลช่วยทำให้การเกลียดชังเรื่องเชื้อชาติเลวร้ายยิ่งขึ้น
            B. The hostility in the school is bad enough without anyone fanning the flames.
                การกระทบกระทั่งกันภายในโรงเรียนก็แย่อยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่มีใครมาช่วยทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงก็ตาม
ที่มาของเนื้อหาhttp://www.lanna.mbu.ac.th/panya/no_61/english.asp

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

การใช้ภาษาไทย

การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

  1.ใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย   กล่าวคือ ก่อนนำคำไปเรียงเข้าประโยค ควรทราบความหมายของคำคำนั้นก่อน เช่น คำว่า “ปอก” กับ “ปลอก” สองคำนี้มีความหมายไม่เหมือนกัน คำว่า “ปอก” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก แต่คำว่า “ปลอก” เป็นคำนาม แปลว่า สิ่งที่ทำสำหรับสวมหรือรัดของต่างๆ เป็นต้น ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ 
                “วันนี้ได้พบกับท่านอธิการบดี ผมขอฉวยโอกาสอันงดงามนี้เลี้ยงต้อนรับท่านนะครับ” (ที่จริงแล้วควรใช้ ถือโอกาส เพราะฉวยโอกาสใช้ในความหมายที่ไม่ดี


   2. ใช้คำให้เหมาะสม    เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและเหมาะสมกับบุคคล เช่นโอกาสที่เป็นทางการ โอกาสที่เป็นกันเอง หรือโอกาสที่เป็นภาษาเขียน เช่น  
   3. การใช้คำลักษณนาม  ใช้คำที่บอกลักษณะของนามต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น ปากกา มีลักษณนามเป็น ด้าม เลื่อย มีลักษณะนามเป็น ปื้น ฤๅษี มีลักษณะนามเป็น ตน เป็นต้น 
   4. การเรียงลำดับคำ  เป็นเรื่องที่สำคัญมากในภาษาไทย หากเรียงผิดที่ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย ทั้งนี้ เพราะคำบางคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จัดเรียงไว้ในประโยค เช่น 
     ข้อบกพร่องในการเรียงลำดับคำมักปรากฏดังนี้ 

   5. แต่งประโยคให้จบกระแสความ   หมายถึงแต่งประโยคให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งส่วนที่เป็นภาคประธานและภาคแสดง ซึ่งประโยคที่จบกระแสความนั้นจะต้องตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ได้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ประโยคไม่จบกระแสความอาจเกิดจากขาดคำบางคำหรือขาดส่วนประกอบของประโยคบางส่วนไป เช่น 

   6. ใช้ภาษาให้ชัดเจน  ใช้ภาษาที่ให้ความหมายเพียงความหมายเดียว เป็นความหมายที่ไม่สามารถจะแปลความเป็นอย่างอื่นได้  เช่น “คุณแม่ไม่ชอบคนใช้ฉัน” อาจแปลได้ 2 ความหมายคือ คุณแม่ไม่ชอบใครก็ตามที่ใช้ให้ฉันทำโน่นทำนี่ หรือคุณแม่ไม่ชอบคนรับใช้ของฉัน ทั้งนี้เพราะคำว่า “คนใช้” เป็นคำที่มีหลายความหมายนั่นเอง

-  ไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ  เช่น 
   
๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย  เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์  เช่น 
  
•   สนุ้กเกอร์ = สนุ๊กเกอร์ 
•    โน้ต = โน๊ต 

๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น 
  
•    หนู=นู๋ 
•   ผม = ป๋ม 
•   ใช่ไหม = ชิมิ 
•   เป็น = เปง 
•   ก็ = ก้อ 
•   ค่ะ,ครับ = คร่ะ,คับ 
•   เสร็จ = เสด 
•   จริง = จิง 
•    เปล่า = ปล่าว,ป่าว,เป่า 
  
๓. การลดรูปคำ  เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลงมีใช้ในภาษาพูด  เช่น 
•   มหาวิทยาลัย = มหา’ลัย ,มหาลัย 
•   โรงพยาบาล = โรงบาล
๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน  เช่น 
•   ใช่ไหม = ใช่มั้ย
๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์  เช่น 
•   ไม่ = ม่าย 
•   ไปไหน = ปายหนาย 
•    นะ = น้า 
•   ค่ะ,ครับ =คร่า,คร๊าบ 
•   จ้ะ = จร้า 
  
นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน 
   
๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด
          เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง   ตะเอง


๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน

รูป แบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย


๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน
รูป แบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย

                   รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม 
•   เธอ = เทอ 
•   ใจ = จัย 
•   ไง = งัย 
•   กรรม = กำ 

          ๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์ 
                   กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น 
•   รู้ = รุ้ 
•    เห็น = เหน 
•   เป็น = เปน
          ๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย) 
เทพ = Inw 
นอน = uou 

 “ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านจะคิดยังไง” (คำว่า “ยังไง”  เป็นภาษาพูด ถ้าเป็นภาษาเขียนควรใช้ “อย่างไร”  
                “เมื่อสมชายเห็นรูปก็โกรธ กระฟัดกระเฟียด มาก (ควรใช้ โกรธปึงปัง เพราะกระฟัดกระเฟียดใช้กับผู้หญิง)  
                
                
                แม่เกลียดคนใช้ฉัน                             ฉันเกลียดคนใช้แม่ 
                คนใช้เกลียดแม่ฉัน                             แม่คนใช้เกลียดฉัน 
                ฉันเกลียดแม่คนใช้                             แม่ฉันเกลียดคนใช้  

      -  เรียงลำดับคำผิดตำแหน่ง เช่น เขาไม่ทราบสิ่งที่ดีงามนั้น ว่า คืออะไร 
         (ควรเรียงว่า เขาไม่ทราบ ว่า สิ่งที่ดีงามนั้นคืออะไร) 
      -  เรียงลำดับคำขยายผิดที่ เช่น ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย เป็นอย่างสูง 
         (ควรเรียงว่า ขอขอบคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย)  
      -  เรียงลำดับคำไม่เหมาะสม เช่น จงไปเลือกตั้งลงคะแนนเสียง นายกสโมสรนักศึกษา 
         (ควรเรียงว่า จงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกสโมสรนักศึกษา)

                เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้ว 
                (ควรแก้เป็น เมื่อตอนยังเด็กเขาชอบนอนหนุนตักแม่ บัดนี้เขาอายุยี่สิบกว่าแล้วก็ยังชอบอยู่เหมือนเดิม)

   7.  ใช้ภาษาให้สละสลวย  ใช้ภาษาอย่างไพเราะราบรื่น ฟังไม่ขัดหู และมีความกะทัดรัด 
                -  ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย หมายถึง การใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือใช้คำที่มีความหมายซ้ำซ้อน เช่น  
                                “วันนี้อาจารย์ไม่มาทำการสอน”  
                                คำว่า “ทำการ” เป็นคำที่ไม่จำเป็น เพราะแม้จะคงไว้ก็ไม่ได้ช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นกว่าเดิม หรือถ้าตัดทิ้ง ความหมายก็ไม่ได้เสียไป ดังนั้นจึงควรแก้ไขเป็น 
                                “วันนี้อาจารย์ไม่มาสอน”
                -  ใช้คำให้คงที่ หมายถึง ในประโยคเดียวกัน หรือในเนื้อความเดียวกัน ควรใช้คำเดียวกันให้ตลอด ดังประโยคต่อไปนี้ 
                                “หมอถือว่าคนป่วยทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน” 
                                (ควรแก้เป็น : หมอถือว่าคนไข้ทุกคนเป็นคนไข้ของหมอเหมือนกัน”

                                “มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องจากไป” 
                                (ควรแก้เป็น “เขาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจากไป)

ภาษาแชทที่มักใช้ผิด
๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง 
เกรียน = เกรีeu
ที่มา: thaiusage.siam2web.com